วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

การฟอกสีฟัน 

             การฟอกสีฟัน (Vital Bleaching หรือ Tooth Whitening) เป็นการใช้สารปล่อยออกซิเจน ที่มีความเข้มข้นสูง ทาที่ฟันที่มีการเปลี่ยนสี ชุดน้ำยาฟอกสีฟันนี้ ได้แก่ สารพวกไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือคาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ การฟอกสีฟันนั้น เมื่อปล่อยไว้สักระยะ จะกลับเปลี่ยนสีได้อีก ต้องมีการทำซ้ำ
ปัจจุบันนอกจากการใช้น้ำยาฟอกแบบธรรมดาแล้วยังมี การฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ เป็นการใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นเฉพาะ ทำงานร่วมกับเจลพิเศษซึ่งมีตัวรับพลังงาน สามารถเร่งปฏิกิริยาฟอกสีฟันให้เร็วขึ้น โดยใช้เวลาในคลินิกประมาณ 30-45 นาที เปรียบเทียบกับแบบเดิมซึ่งฟอกสีฟันที่บ้านใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ความขาวในระดับใกล้เคียงกัน กลไกปฏิกิริยาเกิดจากสารพวกเปอร์ออกไซด์ แตกตัวให้ออกซิเจนอิสระเสถียรต่ำซึมผ่านชั้นเคลือบฟันทำปฏิกิริยากับสารโมเลกุลใหญ่สีเข้มในเนื้อฟัน ทำให้เกิดการแตกสลาย ตัวเป็นสารโมเลกุลเล็ก สีอ่อนลง หรือเป็นสารไม่มีสี ทำให้ฟันดูขาวใส เป็นธรรมชาติมากขึ้น

การ ฟอกสีฟัน แบ่งตามกรรมวิธีได้ 2 อย่างคือ
1.
in -office หมายถึง หมอทำการฟอกสีฟันให้ที่คลินิก ใช้เวลา ประมาณ 30-60 นาที

2. home bleaching หมายถึง หมอจ่ายยาฟอกสีฟัน ไปให้คนไข้ทำเองที่บ้าน โดยหมอจะต้องพิมพ์ฟันเพื่อทำถาดสำหรับฟอกสีฟันเฉพาะตัวให้ก่อน ความเข้มข้นของน้ำยาที่ใช้ฟอกสีฟันที่บ้านเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในร้านหมอฟัน แต่ความเข้มข้นจะต่ำกว่า และได้ผลช้ากว่า ทว่าราคาอาจจะถูกกว่า

***ทันตแพทย์แนะนำให้ทำทั้ง 2 วิธีร่วมกัน โดยวิธี in-office จะช่วยทำให้ฟันขาวได้มากที่สุด ส่วนวิธี home bleaching ใช้เพื่อรักษาระดับความขาวไว้ให้ต่อเนื่อง

การรักษารากฟัน
        การรักษารากฟันคือ การตัดโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟัน ซึ่งเมื่อโพรงประสาทฟันที่ถูกทำลาย อักเสบ หรือตายถูกตัดออก พื้นที่ส่วนที่เหลือก็จะถูกทำความสะอาด จัดรูปทรง และอุด กระบวนการนี้จะเป็นการปิดคลุมรากฟัน เมื่อหลายปีก่อน ฟันที่มีโพรงประสาทฟันอักเสบจะต้องถูกถอนออก แต่ในปัจจุบัน การรักษารากฟันจะช่วยรักษาฟันไว้ได้



สาเหตุส่วนใหญ่ของการที่โพรงประสาทฟันถูกทำลายหรือตายได้แก่
-ฟันแตก
-ฟันผุอย่างรุนแรง
-อาการบาดเจ็บของฟัน เช่น การกระแทกอย่างแรงที่ฟัน ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไม่นานหรือในอดีต

        เมื่อโพรงประสาทฟันติดเชื้อหรือตาย ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา จะมีการก่อตัวที่ปลายรากฟันในกระดูก ขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ และสามารถทำลายกระดูกรอบๆ ฟันทำให้เกิดอาการปวด

การรักษารากฟันทำอย่างไร
การรักษารากฟันประกอบด้วยหลายขั้นตอน และต้องใช้เวลาพบทันตแพทย์หลายครั้ง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้:
ขั้นตอนแรก คือการเปิดที่ด้านหลังของฟันหน้า หรือครอบฟันของฟันกราม
หลังจากที่โพรงประสาทฟันที่เสียถูกตัดออก (การรักษาโพรงประสาทฟัน) จะมีการทำความสะอาดโพรงประสาทฟันในตัวฟันและรากฟัน และตกแต่งเพื่อทำการอุดต่อไป
ถ้าต้องมีการพบทันตแพทย์มากกว่า 1 ครั้ง จะมีการอุดชั่วคราวไปก่อนเพื่อปกป้องฟันระหว่างรอการรักษาต่อไป
เมื่อวัสดุอุดฟันชั่วคราวถูกถอนออก ทันตแพทย์จะทำการอุดถาวรโดยใช้วัสดุคล้ายยางเป็นแท่งเล็กๆ เรียกว่า
Gutta-percha เติมลงไปที่คลองรากและปิดด้วยซีเมนต์ บางครั้งอาจมีการใส่โลหะหรือพลาสติกแท่งลงไปเพื่อประคองฟันไว้
ในขั้นตอนสุดท้าย ครอบฟันมักจะต้องใช้เพื่อคลุมฟัน และรักษารูปทรงธรรมชาติ ถ้าฟันล้มอาจจำเป็นต้องใช้ที่ค้ำก่อนทำการครอบฟัน


ฟันที่รับการรักษาจะอยู่ได้นานเท่าใด 
ฟันที่ได้รับการรักษาหรือฟื้นฟูสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตถ้ามีการดูแลอย่างเหมาะสม เพราะฟันผุยังสามารถเกิดขึ้นได้อีกในฟันที่รับการรักษาแล้ว สุขอนามัยของปากและฟันที่ดีตลอดจนการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต
เนื่องจากไม่มีโพรงประสาทฟันเหลือเพื่อให้ฟันยังมีชีวิตอยู่ ฟันที่ผ่านการรักษารากฟันอาจมีความเปราะและแตกได้ง่าย จึงเป็นสาเหตสำคัญในการครอบฟันหลังจากที่รับการรักษารากฟันแล้ว
        วิธีที่ใช้ในการตัดสินว่าการรักษาประสบความสำเร็จหรือไม่ คือ การเอ็กซเรย์เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษา ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่ากระดูกยังคงถูกทำลายหรือมีการสร้างตัวใหม่
ฟันเกย์ เหอๆๆ ฟันเก ตะหาก 

               ฟันเก หมายถึง ฟันที่ขึ้นมาแล้วไม่อยู่ในตำแหน่งที่เป็นปกติ อาจมีลักษณะเป็นฟันซ้อนกัน ฟันยื่น ฟันห่างหรือฟันล้มเอียง ผู้ที่มีฟันเกจึงมักจะไม่ชอบใจถ้าฟันเกนั้นอยู่ข้างหน้า เพราะทำให้ยิ้มแล้วดูไม่สวยงาม 

 สาเหตุของฟันเก ฟันเกเกิดจากสาเหตุใหญ่ 2 อย่าง
- กรรมพันธุ์
- สิ่งแวดล้อม

 สาเหตุจากกรรมพันธุ์ พ่อแม่ที่มีฟันเก ลูกมักจะมีฟันเกตามไปด้วย อาจเกิดจาก
1. โครงสร้างของใบหน้าไม่ได้สัดส่วน ในด้านขนาดและความสัมพันธ์ของขากรรไกรบนและล่าง อาจยื่นมากเกินไปหรือเล็กเกินไป
2. ขนาดของฟันโตเกินไป ทำให้การเรียงตัวของฟันในขากรรไกรไม่เป็นระเบียบ เกิดการซ้อนเก
3. ชนิดของฟันเล็กเกินไป การเรียงตัวของฟันจึงห่าง หรือบางครั้งฟันห่างเนื่องจากฟันขึ้นไม่ครบ ขาดหายไปบางซี่
4. ฟันขึ้นผิดตำแหน่งสลับที่กัน
5. ขนาดของลิ้นใหญ่ผิดปกติ ทำให้ฟันที่อยู่รอบๆ ถูกดันห่างออก
6. สภาพของกล้ามเนื้อมีแรงเกิดขึ้นขณะพูด กลืน เคี้ยว ทำให้ฟันถูกผลักดันออกไปจากตำแหน่งปกติได้
7. ฟันหน้าห่าง เนื่องจากเยื่อที่ยึดระหว่างฟันหน้าบน 2 ซี่ เกาะต่ำกว่าปกติ
8. ฟันเก อาจพบในคนที่มีความผิดปกติของช่องปาก เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่

 สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม 
1. ฟันน้ำนมถูกถอนเร็วกว่าปกติ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย เนื่องจากผู้ปกครองมักจะไม่เข้าใจถึงความสำคัญของฟันน้ำนม และปล่อยให้ผุจนถึงต้องถอนออกก่อนกำหนด
2. ฟันเกที่เกิดจากการที่ฟันน้ำนมคงอยู่ในปากนานเกินไป ทำให้ฟันแท้ต้องแทรกเบียดขึ้นเอียงไปทางอื่นเกิดฟันซ้อนขึ้น
3. ฟันเกที่เกิดจากสุขนิสัยบางอย่างเป็นระยะเวลานานเกินไป เช่น การดูดนิ้ว การกลืนที่ผิดปกติ

 การรักษา โดยการจัดฟัน ซึ่งมักจะเริ่มจัดตั้งแต่อายุ 9-14 ปี เพราะเป็นระยะที่เหมาะสม เนื่องจากกำลังอยู่ในระหว่างการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกร การจัดฟันนั้นจะสามารถจัดฟันได้เร็วและฟันจะเข้าที่ๆ ต้องการได้ง่ายกว่าที่จะจัดหลังจากกระดูกขากรรไกรและฟันเจริญเติบโตเต็มที่แล้วการป้องกัน การป้องกันจากสาเหตุทางกรรมพันธุ์นั้นป้องกันไม่ได้ แต่ฟันเกที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมจะป้องกันได้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยได้อย่างมาก โดยช่วยดูแลสุขภาพของฟันเด็ก อย่าให้ฟันถูกถอนไปก่อนกำหนดและควรสนใจหาความรู้ในการป้องกันโรคฟัน ตลอดจนพาเด็กไปพบทันตแพทย์ให้ตรวจฟันเป็นระยะๆ ถ้ามีโอกาส เพราะโรคฟันนั้นป้องกันได้ผลดี

ฟันตุ๊ด เอ้ยย ฟันคุด ...

                 ตามปกติแล้วคนเราจะมีฟันแท้อยู่ด้วยกันทั้งหมด 32 ซี่ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นฟันบน 16 ซี่และฟันล่างอีก 16 ซี่ ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะแบ่งออกเป็นสองด้านคือ ด้านซ้ายและด้านขวาอย่างละ 8 ซี่รวมแล้วก็จะได้ทั้งหมด 32 ซี่ แต่หลายๆคนก็มักจะมีฟันแท้ขึ้นไม่ครบ 32 ซี่เนื่องด้วยบางซี่ที่ยังฝังตัวอยู่ในเหงือกอย่างผิดปกติและไม่โผล่ขึ้นมาหรือโผล่พ้นขึ้นมาจากเหงือกเพียงเล็กน้อยเจ้านี่แหละครับที่มีชื่อเรียกว่า "ฟันคุด"
             สำหรับฟันคุดนี้นั้นก็ถือว่าเป็นความผิดปกติของฟันที่ทันตแพทย์แนะนำให้ไม่เก็บไว้เนื่องจาก     "ฟันคุด"  จะสร้างปัญหาต่างๆมากมายตามมาในภายหลังได้และปัญหาเหล่านั้นก็อาจจะบานปลายกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าเดิมได้ในอนาคต โดยปัญหาต่างๆที่จะตามมาถ้าหากปล่อยฟันคุดทิ้งไว้ก็มีดังต่อไปนี้

1.ฟันผุ
     ฟันคุดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฟันซี่อื่นมีโอกาสผุตามไปด้วย นั่นก็เป็นเพราะฟุนคุดเป็นแหล่งสะสมเศษอาหารชั้นเยี่ยมนั่นเองและฟันคุดยังเป็นฟันที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ตามปกติ ดังนั้นการมีฟันคุดอยู่ในปากก็ย่อมหมายถึงการมีเชื้อโรคอยู่ในปากมากกว่าปกตินั่นเอง

2.เหงือกอักเสบ
     เช่นเดียวกับปัญหาแรก การมีฟันคุดอยู่ในปากนั้นหมายความว่าเรายินยอมให้เชื้อโรคแบคทีเรียต่างๆจากเศษอาหารยึดครองช่องปากของเราไว้ ดังนั้นไม่เพียงแต่ฟันซี่อื่นที่อาจได้รับเชื้อโรคเหล่านี้ไปแล้ว เหงือกเราเองก็มีโอกาสได้รับเช่นเดียวกัน และในที่สุดเมื่อเหงือกได้รับเชื้อโรคเข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ

3.ฟันเก
     ฟันคุดที่ซ่อนตัวอยู่ใต้เหงือกนั้นมีแรงผลักดันที่มากพอสมควร ซึ่งการที่เราปล่อยฟันคุดทิ้งไว้ก็จะทำให้ฟันซี่อื่นได้รับแรงดันจากฟันซี่ที่คุดและมีโอกาสกลายเป็นฟันเกได้


โรคเหงือก -0-

"เหงือกร่น Gum Recession"
                 คนปกติจะมีเหงือกสีชมพูและปิดฟันทำให้ไม่เห็นร่องฟัน เหงือกร่นอาจจะไม่มีอาการอะไร แต่เป็นสัญญาณว่าจะเป็นโรคเหงือก ลักษณะที่สำคัญของเหงือกร่นคือ จะเห็นร่องฟันตั้งแต่ 2 ซี่ขึ้นไป และเห็นรากฟัน

"เลือดออกจากเหงือก"
                หากแปรงฟันแล้วเลือดออกแสดงว่าเป็นโรคเหงือก แม้ว่าจะไม่มีเลือดออกก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นโรคเหงือก เพราะคนปกติจะหลีกเลี่ยงแปรงฟันบริเวณที่ปวดหรือมีปัญหา

"เหงือกแดง"
                 ปกติเหงือกจะมีสีชมพู การที่เหงือกแดงแสดงว่ามีการอักเสบของเหงือก หากมีการกดเจ็บร่วมด้วยแสดงว่ามีการอักเสบ


ฟันผุ!

                  ฟันของคนเราปรกติจะมีการ demineralization เป็นการที่แร่ธาตุของผิวฟันถูกขับออก และมี remineralizatio หรือขบวนการเติมแร่ธาตุให้กับผิวฟันโดยแร่ธาตุที่อยู่ในน้ำลาย หากขบวนการเติมแร่มากกว่าขบวนการขับออกฟันฟันจะปรกติ
เมื่อขบวนการละลายแร่ธาตุมากกว่าขบวนการสร้างก็จะเกิดฟันผุ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อ
Streptococcus mutan และ Lactobasillus ย่อยอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตทำให้เกิดกรดซึ่งจะทำลายผิวเคลือบฟัน ในรายที่เริมเป็นจะเห็นเป็นสีขาวขุ่นเล็กๆที่ผิวฟัน ในระยะนี้หากตรวจพบ และรักษาสุขอนามัยก็จะทำให้ผิวฟันกลับปกติ หากยังมาการละลายของผิวฟันต่อไปอีกก็จะกลายเป็นสีน้ำตาลซึ่งหากยังไม่เป็นรูก็ยังสามารถกลับคืนสู่ปกติได้ หากกลายเป็นรูก็จะคงรูปตลอด และหากไม่รักษาก็จะมีอาการปวดฟันจนกระทั่งฟันร่วง

"สาเหตุของฟันผุมีอะไรบ้าง"

               ปัจจัยที่จะทำให้เกิดฟันผุจะมีอยู่ 4 สาเหตุ จากฟัน แบคทีเรีย อาหาร และระยะเวลา

1.สาเหตุจากฟัน
               
                มีโรคฟันบางประเภทที่มีเกลือแร่ที่เนื้อฟันน้อยทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย นอกจากนั้นผู้ที่มีร่องบนฟันมากหรือลึกก็จะเกิดฟันผุได้ง่าย และผู้ที่เป็นโรคเหงือกมีเหงือกร่นทำให้อ้วน Dentin สัมผัสสภาพในฟัน Dentin จะมีเกลือแร่เป็นองค์ประกอบน้อยกว่าผิวฟันซึ่งในสภาพปากปกติก็ทำให้เกิดฟันผุได้(ผิวฟันปรกติจะต้องมีpH<5.5จึงจะเกิดฟันผุ)

2.เชื้อแบคทีเรีย

                 ผู้ที่มีเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวข้องต้นหากมีมากที่คราบหินปูนหรือที่ร่องฟันมากก็จะทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย

3.อาหาร

                 อาหารแป้ง น้ำตาลจะถูกย่อยโดยเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดกรดซึ่งหากฟันสัมผัสกรดเป็นเวลานาน หรือบ่อย ผิวฟันก็จะสึกและผุ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาลให้บ่อยมาก

4.ระยะเวลาที่ฟันเจอกับกรด

                 ปกติเมื่อทายอาหารแป้งและมีเศษอาหารเหลือ เชื้อแบคทีเรียจะย่อยสลายทำให้เกิดกรด และมีการละลายของผิวฟัน แต่ปริมาณน้ำลาย และเกลือแร่ในน้ำลายจะลดความเป็นกรดและเติมเกลือแร่ให้กับฟัน ดังนั้นหากรับประทานอาหารบ่อย หรือน้ำลายน้อยก็จะทำให้ฟันอยู่ในสภาพเป็นกรดนาน ฟันจะเสี่ยงต่อฟันผุได้

"การป้องกันฟันผุ"
1.เรื่องสุขอนามัยในช่องปาก ได้แก่การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และการใช้ไหมขัดฟัน 
2.จะต้องปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารได้การลดอาหารหวานหรือจำพวกแป้ง จะต้องลดความถี่ของการรับประทานของหวานลง 3.นอกจากนั้นอาหารหวานที่ติดฟัน เช่นลูกผม หรือผลไม้แห้งจะติดฟันได้นานซึ่งจะทำให้ฟันอยู่ในสภาวะที่เป็นกรดนาน
4.สำหรับเด็กไม่ควรจะให้อมหัวนมจะหลับเพราะจะทำให้เกิดฟันผุ
5.การอมหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของ
Xylitol จะลดการเกิดฟันผุ เนื่องจากสารนี้จะยับยั้งการใช้น้ำตาลของเชื้อแบคทีเรีย
6.การให้แคลเซียมและฟลูออไรด์ก็จะลดการเกิดฟันผุ

หินปูนเรอะ์? -0-


           Dental plaque ก็คือคราบขาวออกเหลืองหรือสีครีมที่เกาะที่ฟันหรือที่เรียกว่าขี้ฟัน ต่อมามีเชื้อแบคทีเรียมาอาศัยและสร้างกรดมาทำลายฟัน หากทิ้งไว้นานคราบเหล่านั้นจะเกาะติดแน่น ไม่สามารถเอาออกโดยการแปรงฟัน

"การเกิดคราบหินปูน Dental plaque"

               ผิวฟันของเราหรืออีนาเมล เป็นส่วนที่หุ้มฟันจะแข็งมากผิวจะเรียบมัน ผิวฟันที่สะอาด เมื่อถูกน้ำลายจะเกิดแผ่นฟิล์มบางๆปกคุลมผิวฟัน แผ่นฟิล์มนี้เป็นสารไกลโคโปรตีนจากน้ำลาย ประกอบด้วยน้ำตาล และโปรตีนอาจเกิดขึ้นได้ทันที หลังจากทำความสะอาดแล้ว แผ่นฟิล์มนี้จะยังไม่มีเชื้อจุลินทรีย์มาเกาะจึงยังไม่ทำให้เกิดโรค แผ่นฟิล์มจะหนาแล้วเหนียวขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาเชื้อแบคทีเรียมาเกาะ ซึ่งพบได้ตามขอบเหงือก และหลุมร่องฟันทางด้านบดเคี้ยว เพราะเป็นผิวฟันส่วนที่ไม่เรียบ ส่วนขอบเหงือกนั้น เป็นบริเวณที่เว้า
              การเกาะของเชื้อแบคทีเรียจะเกาะอย่างหลวมๆ เมื่อบ้วนปากหรือเคี้ยวอาหารที่มีใย เช่นผักหรือผลไม้จะทำให้คราบหลุดไป หากอาหารที่เหนียว เช่นแป้ง น้ำตาลจะเกาะติดฟัน และเป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะทำให้ฟันผุ
              ดังนั้นการบ้วนปาก การแปรงฟันหลังอาหาร การขัดฟันด้วยไหมจะช่วยขจัดคราบออกไป หากคราบอยู่นานจะมีแคลเซียม และอาหารอื่นมาเกาะคราบจะแข็งและเกาะติดแน่มากขึ้นจนกลายเป็นคราบหินปูน การเอาคราบหินปูนออกต้องใช้วิธีขูดหินปูนออกโดยทันตแพทย์



"การป้องกันการเกิดคราบ"

1.แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
2.ขนแปรงควรจะนุ่ม ปลายมนไม่แหลม
3.ให้แปรงเน้นตรงรอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน
4.ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
5.ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง
6.ตรวจฟันทุก6 เดือน
7.ไม่ควรทานอาหารบ่อย หลีกเลี่ยงอาหารหรือขนมหวาน หากจะรับประทานของว่างควรเป็นผักและผลไม้

กลิ่นปาก??!!
               
                  กลิ่นปากหรือปากเหม็น หรือลมหายใจไม่สะอาด หากเกิดขึ้นกับใครก็ทำให้ขาดความมั่นใจ จะปรึกษาใครก็รู้สึกเป็นสิ่งน่าอาย บทความนี้อาจจะช่วยให้ท่านลดกลิ่นปาก ตำแหน่งที่เกิดกลิ่นปากมากที่สุดคือลิ้นเนื่องจากผิวลิ้นหยาบ ดังนั้นหากเกิดกลิ่นปากลองทำความสะอาดลิ้นก่อนเป็นอันดับแรก

กลไกการเกิดกลิ่นปาก
1.เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในปากตายทำให้เกิดสาร sulfur ออกมาจึงเกิดกลิ่น
2.แบคทีเรียสลายอาหารที่อยู่ในปาก
3.น้ำลายลดลงทำให้เชื้อแบคทีเรีย หรืออาหารไม่ถูกชะล้าง

การดูแลเรื่องกลิ่นปาก
1.การแปรงฟันอย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์ แปรงให้ถูกวิธีและไม่แปรงแรงเกินไป
2.การใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง
 หากจะให้ดีควรจะทำวันละสองครั้ง
3.ควรปรึกษาทันตแพทย์ปีละสองครั้ง
4.ให้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อทุกวัน
5.ให้ดื่มน้ำมะนาวซึ่งจะเพิ่มปริมาณน้ำลาย
6.ให้ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว



รูปร่างและหน้าที่ของฟัน
 ฟันแต่ละซี่ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ 
          ๑. ตัวฟัน คือ ส่วนของฟัน ซึ่งงอกขึ้นมาปรากฏในช่องปาก สามารถมองเห็นได้
          ๒. คอฟัน คือ ส่วนที่ต่อระหว่างตัวฟันและรากฟัน ซึ่งเป็นส่วนของฟันที่มีเหงือกมาสัมผัสอยู่
          ๓. รากฟัน เป็นส่วนหนึ่งของฟัน ซึ่งฝังอยู่ในกระดูกเบ้ารากฟันของขากรรไกร รากฟันนี้จะยึดต่อกับกระดูกเบ้ารากฟันด้วยเส้นใยยึดต่อที่เรียกว่า เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) เอ็นปริทันต์นี้ทำหน้าที่คล้ายเบาะรองรับและถ่ายทอดแรงบดเคี้ยวจากฟันไปสู่กระดูกขากรรไกร เอ็นปริทันต์ที่อยู่ล้อมรอบรากฟันพร้อมด้วยเส้นโลหิตและเส้นประสาทรวมเรียกว่า เยื่อปริทันต์
ฟันแต่ละซี่ จะมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันกล่าวคือ
          ฟันตัด มีลักษณะแบนและบาง มีขอบหน้าคมทำหน้าที่ตัดหรือกัด
          ฟันเขี้ยว มีลักษณะซี่ใหญ่ หนา แข็งแรง มียอดปลายแหลม สำหรับฉีกและดึง
          ฟันกรามน้อยและฟันกราม จะมียอดหรือปุ่ม (cusp) หลายปุ่ม สำหรับขบและบดอาหารให้ละเอียดทำหน้าที่คล้ายโม่
          ฟันแต่ละชนิดจะมีรากแตกต่างกันออกไป  กล่าวคือ ฟันตัดและฟันเขี้ยว จะมีรากเดี่ยว ฟันกรามน้อยจะมีชนิดรากเดี่ยวและรากคู่  ส่วนฟันกรามในขากรรไกรล่างมีรากคู่ แต่ฟันกรามในขากรรไกรบนจะมี ๓ ราก

การแปรงฟัน

แปรงฟันอย่างมีประสิทธิภาพ
การแปรงฟันอย่างมีประสิทธิภาพ จะประกอบด้วยปัจจัย 5 ข้อ ดังนี้ 
 1.ขนแปรง : แปรงสีฟันที่ใช้ควรมีขนแปรงนุ่ม จะช่วยส่งเสริมให้แปรงฟันได้ โดยไม่ต้องออกแรงมาก สามารถป้องกันการสึกกร่อน และอาการเสียวฟัน ที่อาจเกิดต่อเนื่องได้ การแปรงฟันโดยแปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม จะช่วยให้ขนแปรงเข้าไปตามซอกฟัน ซึ่งเป็นที่สะสม ของเศษอาหาร และคราบจุลินทรีย์ได้ อย่างทั่วถึง ทำให้ทำความสะอาดได้ดีกว่า แต่จะต้องปรับอุปนิสัย และความเชื่อที่ว่าแปรงฟันแแรง ๆ จึงจะสะอาด เปลี่ยนเป็น แปรงฟันด้วยขนแปรงนุ่ม จะสะอาดดีกว่า
 

 2.บริเวณที่ควรแปรงฟัน : แปรงฟันบริเวณขอบเหงือกเป็นพิเศษ บริเวณขอบเหงือก หรือรอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน จะเป็นส่วนที่คราบ จุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ และโรคฟันผุ สะสมได้ดีที่สุด ดังนั้น จึงเป็นบริเวณที่จะต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยการทำความสะอาดบริเวณนี้ ของเหงือกอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ การแปรงฟันโดยใช้ขนแปรงที่อ่อนนุ่ม กระทบขอบเหงือกเบา ๆ ยังเป็นการกระตุ้นการทำงานของเหงือกด้วย ในรายที่เหงือกอักเสบ การแปรงฟันบริเวณขอบเหงือก อาจมีเลือดออกได้ แต่ถ้าอดทนแปรง ต่อไป ในบริเวณนั้นอย่างต่อเนื่อง อาการเหงือกอักเสบ และเลือดออกขระแปรงฟัน จะลดน้อยลง และหายไปในที่สุด ภายในเวลาไม่นาน 

 3.ด้านของฟันที่ต้องแปรง : แปรงฟันให้ทั่วทุกซี่ฟัน ทั้งด้านนอกและด้านใน ด้านนอกของฟัน ได้แก่ ด้านแก้ม คนส่วนใหญ่สามารถแปรงให้สะอาดได้ดี จะมีจุดอ่อนก็ตรงกระพุ้งแก้มด้านลึกสุด มักแปรงเข้าไปไม่ค่อยถึง ก็ทำให้ไม่สะอาดได้ และ ด้านในของฟัน ได้แก่ ด้านเพดานปาก สำหรับฟันบน หรือด้านลิ้น สำหรับฟันล่าง เป็นส่วนที่แปรงฟันไม่ค่อยถึงที่สุด เพราะว่าทุกด้านของฟัน จะเป็นที่สะสมคราบจุลินทรีย์ได้เหมือนๆ กัน จึงสมควรจะได้รับการทำความสะอาดเท่ากัน ทั้งด้านนอก และด้านในของฟันทุกซี่ในปาก การแปรงฟันที่กี จึงต้องแปรงช้าๆ และทั่วถึง 

4.เวลาที่ใช้ : แปรงฟันให้นาน ครั้งละประมาณ 2 นาที เพราะดดยปกติแล้ว ความยาวของแปรงสีฟัน จะครอบคลุมฟันได้ครั้งละ 2-3 ซี่ ในขณะที่ฟันน้ำนมมี 20 ซี่ และฟันถาวรมี 32 ซี่ ซึ่งได้รับการแปรงฟันทั้งด้านนอก และด้านในทุกซี่อย่างทั่วถึง จะใช้เวลาประมาณ 2 นาที่ขึ้นไป ดังนั้น การแปรงฟันอย่างรีบร้อน จะแปรงได้ม่ทั่วถึง และไม่สะอาดเพียงพอ 

5.ยาสีฟัน : แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยาสีฟันที่ดี จะต้องมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ในการป้องกันโรคฟันผุ และการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ควรจะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อต้านโรคฟันผุ ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ในเวลาประมาณ 2 นาที่ดังกล่าว จะเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับ การเกิดปฏิกิริยา ป้องกันฟันผุของฟลุออไรด์ด้วย  


วิธีการแปรงฟันบน
         โดยวิธี ขยับ-ปัด (Modified Bass Technic) ในทุกบริเวณ ยกเส้นฟันหน้าบนด้านเพดาน และฟันหน้าล่างด้านลิ้น ซึ่งอาจใช้วิธี กด-ดึง-ปัด (Roll Technic) โดยเปลี่ยนให้แนวของด้ามแปรงสีฟัน ขนานกับแนวของซี่ฟันหน้าบนบริเวณนั้น กดปลายขนแปรงส่วนสุดท้าย ให้แนวกับบริเวณคอฟัน แล้วดึงแปรงลงมา โดยให้ขนแปรงสัมผัสกับผิวฟันตลอด สำหรับฟันบน หรือดึงขึ้นบนสำหรับฟันล่าง
              การแปรงฟันกรามบนด้านแก้ม ด้านเพดานปาก และฟันหน้าด้านริมฝีปาก (ใช้วิธีขยับ-ปัด) ให้เอียงแปรงสีฟันเข้าหาเหงือกประมาณ 45 องศาปลายของขนแปรงจะแทรกเข้าไปในร่องเหงือก ได้เล็กน้อยออกแรงถูแปรงไปมาสั้นๆ 3-4 ครั้ง แล้วปัดแปรงสีฟันเข้าหาตัวฟัน ลงไปด้านปลายฟัน ทำเช่นนี้ 5-6 ครั้ง
การแปรงฟันล่าง
              การแปรงฟันกรามล่างด้านแก้ม ด้านลิ้น และฟันหน้าด้านริมฝีปาก (ใช้วิธี ขยับ-ปัด) ให้เอียงแปรงสีฟันเข้าหาเหงือกประมาณ 45 องศา เช่นกัน ปลายของขนแปรงจะแทรกเข้าไป ในร่องเหงือกได้เล็กน้อย ออกแรงถูไปมาสั้นๆ 3-4 ครั้ง แล้วปัดแปรงสีฟันเข้าหาตัวฟัน ขึ้นไปด้านปลายฟัน ทำเช่นนี้ 5-6 ครั้ง
การแปรงฟันด้านบดเคี้ยว
             การแปรงฟันด้านบดเคี้ยว โดยวางขนแปรงตั้งฉากกับด้านเคี้ยวของฟัน ออกแรงถูไปมา 4-5 ครั้ง แปรงให้ทั่วทางด้านบดเคี้ยว
การแปรงลิ้น
            บริเวณลิ้นอาจพบมีคราบเศษอาหาร หรือมีลักษณะเป็นฝ้าขาวติดอยู่ ซึ่งถ้ามีการหมักหมมอยู่นานๆ อาจทำให้เกิดมีกลิ่นได้ จึงควรทำความสะอาดลิ้นด้วย โดยใช้ขนแปรงสีฟันถูเบาๆ บนด้านลิ้น

ประเภทและส่วนประกอบของฟัน

ประเภทของฟัน

1.ฟันตัดหน้าซี่กลาง (central incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่ มีหนึ่งราก
2.ฟันตัดหน้าซี่ข้าง
 (lateral incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ฟันตัดหน้าทั้งสองประเภททำหน้าที่ตัดอาหาร ในสัตว์ที่กินอาหารโดยการแทะฟันนี้จะเจริญที่สุด
3.ฟันเขี้ยว
 (cuspid or canine) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ทำหน้าที่ตัด ฉีก หรือแยกอาหารออกจากกัน
4.ฟันกรามน้อย
 (premolar) : ขากรรไกรบน 4 ซี่ ขากรรไกรล่าง 4 ซี่: ทำหน้าที่ตัดและฉีกอาหาร (สัตว์กินเนื้อ เช่น เสือ สุนัข แมว จะมีเขี้ยวและกรามน้อยเจริญดีและแข็งแรงเป็นพิเศษ)
5.ฟันกราม
 (molar) : ขากรรไกรบน 6 ซี่ ขากรรไกรล่าง 6 ซี่: ทำหน้าที่เคี้ยวและบดอาหาร
ส่วนประกอบของฟัน
1.เคลือบฟัน (enamel) : เป็นส่วนที่แข็งที่สุดของฟันมีส่วนประกอบของแคลเซียมและฟอสเฟต
2.เนื้อฟัน
 (dentine) : เป็นส่วนที่แข็งน้อยกว่าเคลือบฟัน มีความแข็งพอๆกับกระดูก ชั้นนี้มีการสร้างและสลายอยู่ตลอดเวลา เป็นชั้นที่มีเซลล์เป็นจำนวนมาก
3.โพรงประสาทฟัน
 (pulp) : เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดที่นำอาหารมาหล่อเลี้ยงฟัน และนำของเสียออกจากฟัน และมีเส้นประสาทรับความรู้สึกของฟัน
4.เคลือบรากฟัน
 (cementum) : เป็นส่วนของเนื้อเยื่อปริทันต์ที่อยู่ภายในรากฟัน ด้านหลังของเหงือก ซึ่งมีเส้นประสาทไหลเวียนมาก
5.ชั้นร่องเหงือก
 (gingival crevice) : ร่องระหว่างเหงือกตัวฟันกับขอบเหงือก มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร
6.เหงือก
 (gingiva) : เนื้อเยื่อที่หุ้มตัวฟันและกระดูกขากรรไกรไว้
7.กระดูกเบ้ารากฟัน
 (alveolar bone) : ส่วนกระดูกที่รองรับรากฟัน