วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

การรักษารากฟัน
        การรักษารากฟันคือ การตัดโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟัน ซึ่งเมื่อโพรงประสาทฟันที่ถูกทำลาย อักเสบ หรือตายถูกตัดออก พื้นที่ส่วนที่เหลือก็จะถูกทำความสะอาด จัดรูปทรง และอุด กระบวนการนี้จะเป็นการปิดคลุมรากฟัน เมื่อหลายปีก่อน ฟันที่มีโพรงประสาทฟันอักเสบจะต้องถูกถอนออก แต่ในปัจจุบัน การรักษารากฟันจะช่วยรักษาฟันไว้ได้



สาเหตุส่วนใหญ่ของการที่โพรงประสาทฟันถูกทำลายหรือตายได้แก่
-ฟันแตก
-ฟันผุอย่างรุนแรง
-อาการบาดเจ็บของฟัน เช่น การกระแทกอย่างแรงที่ฟัน ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไม่นานหรือในอดีต

        เมื่อโพรงประสาทฟันติดเชื้อหรือตาย ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา จะมีการก่อตัวที่ปลายรากฟันในกระดูก ขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ และสามารถทำลายกระดูกรอบๆ ฟันทำให้เกิดอาการปวด

การรักษารากฟันทำอย่างไร
การรักษารากฟันประกอบด้วยหลายขั้นตอน และต้องใช้เวลาพบทันตแพทย์หลายครั้ง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้:
ขั้นตอนแรก คือการเปิดที่ด้านหลังของฟันหน้า หรือครอบฟันของฟันกราม
หลังจากที่โพรงประสาทฟันที่เสียถูกตัดออก (การรักษาโพรงประสาทฟัน) จะมีการทำความสะอาดโพรงประสาทฟันในตัวฟันและรากฟัน และตกแต่งเพื่อทำการอุดต่อไป
ถ้าต้องมีการพบทันตแพทย์มากกว่า 1 ครั้ง จะมีการอุดชั่วคราวไปก่อนเพื่อปกป้องฟันระหว่างรอการรักษาต่อไป
เมื่อวัสดุอุดฟันชั่วคราวถูกถอนออก ทันตแพทย์จะทำการอุดถาวรโดยใช้วัสดุคล้ายยางเป็นแท่งเล็กๆ เรียกว่า
Gutta-percha เติมลงไปที่คลองรากและปิดด้วยซีเมนต์ บางครั้งอาจมีการใส่โลหะหรือพลาสติกแท่งลงไปเพื่อประคองฟันไว้
ในขั้นตอนสุดท้าย ครอบฟันมักจะต้องใช้เพื่อคลุมฟัน และรักษารูปทรงธรรมชาติ ถ้าฟันล้มอาจจำเป็นต้องใช้ที่ค้ำก่อนทำการครอบฟัน


ฟันที่รับการรักษาจะอยู่ได้นานเท่าใด 
ฟันที่ได้รับการรักษาหรือฟื้นฟูสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตถ้ามีการดูแลอย่างเหมาะสม เพราะฟันผุยังสามารถเกิดขึ้นได้อีกในฟันที่รับการรักษาแล้ว สุขอนามัยของปากและฟันที่ดีตลอดจนการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต
เนื่องจากไม่มีโพรงประสาทฟันเหลือเพื่อให้ฟันยังมีชีวิตอยู่ ฟันที่ผ่านการรักษารากฟันอาจมีความเปราะและแตกได้ง่าย จึงเป็นสาเหตสำคัญในการครอบฟันหลังจากที่รับการรักษารากฟันแล้ว
        วิธีที่ใช้ในการตัดสินว่าการรักษาประสบความสำเร็จหรือไม่ คือ การเอ็กซเรย์เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษา ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่ากระดูกยังคงถูกทำลายหรือมีการสร้างตัวใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น